โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2
 

ข่าวประชาสัมพันธ์
การแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน

   กรมทางหลวง เผยผลทดสอบโครงสร้างสะพานกลับรถบนทางหลวงหมายเลข 35 (พระรามที่2) กม.6+188 มีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

   กรมทางหลวงชี้แจงกรณีสะพานกลับรถ หน้าโรงเรียนวรรณสว่างจิต ตรงข้ามกับ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม 2 เกิดรอยแตกร้าวขึ้น หวั่นเป็นอันตรายต่อการใช้รถใช้ถนน ตามที่ สื่อสังคมออนไลน์ได้เผยแพร่ภาพและข้อความ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 กรณีสะพานกลับรถ หน้าโรงเรียนวรรณสว่างจิต ตรงข้ามกับ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม 2 เกิดรอยแตกร้าวขึ้น หวั่นเป็นอันตรายต่อการใช้รถใช้ถนน นั้น

   🚩กทพ. เผยความคืบหน้าการสอบสวน กรณีเกิดอุบัติเหตุคานคอนกรีตถล่ม ขณะติดตั้งบนถนนพระราม 2 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เผยความคืบหน้าการสอบสวน กรณีเกิดอุบัติเหตุ ชิ้นงาน Precast Segment หล่นขณะติดตั้งบนถนนพระราม 2 จากเหตุการณ์ชิ้นงาน Precast Segment ของ Precast Concrete Segmental Box Girder Viaduct ของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2 ของ กทพ. ได้เกิดอุบัติเหตุหล่นลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ใช้ทาง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลาประมาณ 16.15 น. ที่ผ่านมา

   วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เวลา 10:00 น. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2 นายเกรียงไกร เดชไชยปราการ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงธนบุรี ได้จัดประชุมแก้ไขปัญหาร้องเรียนจากประชาชนเรื่องการระบายน้ำบริเวณพระราม 2 ซอย 16 ที่เกิดปัญหามีน้ำท่วมขังภายในซอย โดยพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขร่วมกัน โดยมีเจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย,เจ้าหน้าที่เขตจอมทอง,ผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง,ผู้รับจ้างและผู้ร้องเรียน เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมแขวงทางหลวงธนบุรี

   กทพ. ลงดาบผู้รับจ้าง สั่งหยุดงาน 7 วัน เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง และให้เยียวยาผู้สูญเสีย ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ กรณีอุบัติเหตุบนถนนพระราม 2 จากกรณี คานคอนกรีตสำเร็จรูป (Segment) จากการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2 หล่นในขณะติดตั้ง บนถนนพระรามที่ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนมีรถของประชาชนได้รับความเสียหาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.20 น. โดยประมาณ ซึ่งหลังเกิดเหตุ นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นในทันที โดยสอบถามถึงสาเหตุ มาตรการความปลอดภัยในการทำงาน และให้บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานและ ตัวแทนบริษัทที่เกี่ยวข้อง (กิจการร่วมค้า ซีทีบี ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัท ทิพากร จำกัด และ บริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด) เข้าให้รายละเอียดเพิ่มเติมในวันนี้ โดยเบื้องต้น ได้สั่งให้ผู้รับจ้างหยุดปฏิบัติงาน 7 วัน เพื่อหาสาเหตุจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รวมถึงยังได้กำชับให้มีการดูแลเยียวยาผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บอย่างเต็มที่ นายสุรเชษฐ์ฯ ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า ภายใน 7 วันนี้ กทพ. จะดำเนินการทบทวนมาตรการความปลอดภัย ทั้งหมดให้เพิ่มมากกว่าเดิม เพื่อให้เกิดความมั่นใจในโครงการก่อสร้างที่ กทพ. รับผิดชอบอยู่ สำหรับโครงการในอนาคต กทพ. จะปรับปรุงในกระบวนการคัดเลือกผู้รับจ้าง การปรับปรุงสัญญาจ้างให้เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างขึ้นจากมาตรการเดิม รวมถึงมีบทลงโทษหรือบทปรับที่รุนแรงขึ้น เพื่อเพิ่มความรัดกุม ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการเลือกใช้เทคนิคการก่อสร้าง และระบบการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก “กทพ. มีความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้สูญเสียและต้องขอโทษที่ทำให้ประชาชนผิดหวัง ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของ กทพ. ที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต ทำให้ กทพ. จะต้องเร่งหาสาเหตุที่แท้จริง โดยได้ประสานงานกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ให้เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ เพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุดังกล่าว พร้อมกันนี้กระทรวงคมนาคมและ กทพ. ยังได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงทั้งหมด และหากพบว่าเหตุดังกล่าวเกิดจากการกระทำโดยประมาทหรือเลินเล่อ โดยผู้ใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กทพ. จะดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายจนถึงที่สุด” นายสุรเชษฐ์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด

   กทพ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง การเกิด segment หล่นบนถนนพระรามที่ 2 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เหตุเกิด segment หล่นในพื้นที่ก่อสร้าง บนถนนพระรามที่ 2 นั้นเป็นโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2 โดยมีกิจการร่วมค้า ซีทีบี (CTB Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัท ทิพากร จำกัด และ บริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้าง โดยสาเหตุเกิดจาก บาร์ที่ใช้ยึดระหว่างชุด lifting frame ขาด จึงทำให้ชิ้นงานsegment หล่นลงพื้น เบื้องต้นจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ แจ้งว่ามีเศษคอนกรีตจากก้อนsegment กระเด็นโดนรถยนต์ ทำให้รถที่สัญจรผ่านมาได้รับความเสียหาย จำนวน 4 คัน ผิวจราจรชำรุด ทางเจ้าหน้าที่โครงการอยู่ระหว่างดำเนินการเข้าประสานงานรับผิดชอบความเสียหาย ทุกราย ขณะนี้ ได้ปิดเบี่ยงจราจร ฝั่งขาเข้าและขาออก ฝั่งละ 1 เลนส์ เพื่อนำรถเครนเข้ามาติดตั้งและยกชิ้นงานที่หล่นออกจากพื้นที่ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง กทพ. ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอความร่วมมือผู้ที่ใช้เส้นทางบริเวณดังกล่าวโปรดสังเกตป้ายเตือน สัญญาณจราจรต่างๆ โดยปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของท่านและผู้อื่น และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

   โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 -ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2 วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 14:00 น. ได้จัดประชุมการสอบสวนอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ลวดสลิงหย่อนลงบนผิวจราจรถนนพระราม 2 พร้อมหาแนวทางการป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ สรุปจากการประชุมจากเหตุการณ์การทำงานร้อยลวดสลิงของ Segment MLP 07-17 ถึง MLP 07-18 (ถนนพระราม 2 ฝั่งขาเข้า กม.(ทล.) 5+440 พระรามที่2 ซอย 50) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลาประมาณ 11.15 น.โดยบ.BBR หย่อนลงบนผิวจราจร ทางโครงการฯ ได้เรียกผู้ปฏิบัติงานของ บริษัท สยาม บี บี อาร์ ซิสเทม จำกัด (BBR), กิจการร่วมค้า ซีทีบี (ผู้รับจ้างของโครงการฯ)และผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างฯ แนวทางป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ 1. ทางบริษัท สยาม บี บี อาร์ ซิสเทม จำกัด (BBR) จะติดตั้งรีโมทหยุดฉุกเฉินที่เครื่องยิงสลิงและปลายสลิง 2.ให้มีการ Safety Talk และทดสอบ ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนเริ่มงาน และรายงานกำดำเนินการทุกวัน 3.ใช้แผ่นไม้อัดปิดช่องระบายอากาศที่หลัง Segment ทุกครั้ง 4.มาร์คตำแหน่งความยาวของลวดสลิงที่จะยิงออกไปทุกครั้ง 5.จัดให้มีวิศวกรหรือโฟร์แมนควบคุมงานทุกจุดที่มีการทำงาน และตลอดเวลาของการทำงาน 6.จัดให้มีการทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ก่อนเริ่มงานหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ในวันที่ 23 มี.ค. 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมกิจการร่วมค้า ซีทีบี การเยียวยา - ทางบริษัท สยาม บี บี อาร์ ซิสเทม จำกัด(BBR) ได้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้กับผู้เสียหายทั้ง 2 รายแล้ว บทลงโทษ -เนื่องจากอุบัติเหตุดังกล่าว เป็นเหตุอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ปฏิบัติงาน บุคคลภายนอก และทรัพย์สิน ที่ประชุมจึงมีมติกำหนดให้วิศวกรควบคุมงานของ บริษัท สยาม บี บี อาร์ ซิสเทม จำกัด (BBR) หยุดปฏิบัติงานในโครงการฯ ทันทีและให้จัดหาบุคลากรตำแหน่งวิศวกรควบคุมงานเข้ามาทดแทนก่อนที่จะเริ่มดำเนินงานอีกครั้ง จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ หากมีข้อร้องเรียน หรือ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ สามารถแจ้งได้ที่ ☎️ 02-101-0493

   วันที่ 5 ตุลาคม 2565 โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 -ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 2 ได้จัดให้มีการประชุมกับผู้ร้องเรียน ซึ่งจากการประชุมร่วมกับผู้ขับขี่ได้ข้อสรุปว่า “ วัตถุที่มาโดนกระจกรถข้างคนขับไม่ได้เกิดจากการทำงานของผู้รับจ้าง “ จากการสันนิษฐาน คาดว่าวัตถุอาจกระเด็นมาจากฝั่งขาออกกรุงเทพ เนื่องจากปริมาณรถฝั่งขาเข้ามีปริมาณการจราจรค่อนข้างหนาแน่น ทำให้รถเคลื่อนตัวได้ช้า และปริมาณการจราจรรถฝั่งขาออกคล่องตัว ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วจึงอาจจะเหยียบวัตถุกระเด็นข้ามฝั่งมาโดนรถผู้ขับขี่คันดังกล่าว เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของการทำงานบนถนนพระราม 2 ผู้รับจ้างจึงยินดีจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ขับขี่เนื่องจากมีการเกิดเหตุในพื้นที่ส่วนที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการก่อสร้างอยู่ แนวทางป้องกันจะมีการตรวจสอบพื้นที่หลังเลิกงาน ไม่ให้มีวัสดุค้างอยู่บนที่สูงทุกครั้ง

   โครงการฯ ก่อสร้างทางพิเศษพระราม3 - ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก กรุงเทพมหานคร สัญญาที่ 2 ขอรายงานอุบัติเหตุดังนี้ 1. วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลาโดยประมาณ 04.00 น. 2. สถานที่เกิดเหตุบนทางหลวงหมายเลข ทล.35 ที่ กม.1+842 บริเวณหน้าโรงพยาบาลบางปะกอก 9 ทิศทาง ขาเข้ามุ่งหน้ากรุงเทพฯ ตำแหน่ง ช่องทางหลัก 3. ลักษณะการเกิดเหตุ : รถเครน 130 ตันจอดเสียขวางถนนช่องทางหลักฝั่งขาเข้า 4 ช่องจราจร ช่องทางคู่ขนานวิ่งได้ปกติ ทำให้รถที่มาจากสมุทรสาคร เพื่อมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพ ไม่สามารถขึ้นทางด่วนได้ ต้องไปกลับรถที่แยกดาวคะนองแล้วขึ้นทางด่วนที่ด่านดาวคะนองแทน 4. สาเหตุเกิดจาก : สายพานเครื่องขาด ทำให้ไม่สามารถเดินรถได้ 4.1 การเยียวยา - เจ้าหน้าที่ RSA ได้เข้าพื้นที่ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ อำนวยการจราจรไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน 4.2 แนวทางป้องกัน -จัดให้มีการตรวจสภาพเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ 5. ผู้บาดเจ็บ /เสียชีวิต 5.1 ผู้บาดเจ็บจำนวน : ไม่มี 6. รถยนต์ที่เกี่ยวข้อง : ไม่มี 7. การประชาสัมพันธ์ : ทางโครงการได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทางทราบแล้วทั้งทาง จส.100 และ สวพ.91 ครับ 8. เวลา 06:07 น. เปิดช่องจราจร 3ช่องจราจรเพื่อให้วิ่งสัญจร 9. เวลา 06:35 น. เปิดช่องจราจร 4ช่องจราจร (คืนผิวจราจร 100%) จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบครับ/ค่ะ

   ⛔️เหตุรถเครนเสีย บนถนนพระราม 2 ฝั่งขาออก ขณะนี้เวลา 09:00 น.ได้เคลื่อนย้ายรถเครนเข้าภายในพื้นที่ก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว และได้เปิดถนนเส้นหลัก ฝั่งขาออก ให้รถวิ่งตามปกติแล้ว ครับ/ค่ะ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอความร่วมมือผู้ที่ใช้เส้นทางบริเวณดังกล่าวโปรดสังเกตป้ายเตือน สัญญาณจราจรต่าง ๆ และปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของท่าน หากมีข้อร้องเรียนแจ้งเหตุ หรือ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แจ้งได้ที่ 02-101-0493

   ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการแก้ไขการชำรุดของฝาท่อระบายน้ำที่มีการชำรุด​บริเวณจุด​ exit-entrance ฝั่งขาออก (ช่องทางออกบริเวณโฮมโปร) เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการสัญจรบนท้องถนนได้ครับ/ค่ะ

   วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2564 ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมผิวจราจรที่ชำรุดตรงจุดทางขึ้น - ลง สะพานกลับรถ บริเวณหน้าหมู่บ้านชิชา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการสัญจรบนท้องถนนได้ครับ/ค่ะ


   
Copyright © 2563. Developer By Neediss Co.Ltd.